ด้วยความที่วงจรอายุสั้น การผลิตในรูปแบบดังกล่าวจึงถูกถามถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมแฟชั่นต้องใช้ทั้งทรัพยากรน้ำ ดิน อากาศ ปิโตรเลียม ถ่านหิน และทรัพยากรอื่นๆ รวมไปถึงการถูกตั้งประเด็นคำถามในส่วนของการใช้แรงงานมนุษย์อย่างกดขี่และอยุติธรรม จนกระทั่งค่อยๆ ถูกกระแสต่อต้าน พร้อมทั้งรณรงค์ให้เลิกสนับสนุนคอนเซ็ปต์ Fast Fashion
แนวคิดที่ต่างสุดขั้วจึงถือกำเนิดขึ้นในชื่อ “Slow Fashion” มีใจความสำคัญ คือเน้นการบริโภคที่คำนึงถึงความยั่งยืนทั้งในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ที่มาต้องปราศจากการใช้แรงงานทาส ใช้วัสดุกระบวนการผลิตที่กระทบต่อโลกน้อยที่สุด รวมไปถึงการใช้งานสินค้าที่ผลิตขึ้นที่เน้นคุณภาพเป็นสำคัญเพื่อให้วงจรชีวิตของสินค้านั้นๆ ยาวนานขึ้น มี Cost per Use ต่ำลง
เทรนด์ดังกล่าวเข้ามาสอดรับพฤติกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่ในปัจจุบันได้อย่างลงตัว เนื่องจากภาพรวมของผู้บริโภคทุกวันนี้หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่ม Gen Z คนยุคใหม่ที่ตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อม ดำเนินชีวิตประจำวันอย่างคำนึงถึงโลกเป็นสำคัญ มีทิศทางเดียวกับงานวิจัยของคันทาร์ (Kantar) ที่จับมือกับ GfK และ Europanel ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในทวีปยุโรป อเมริกา ละตินอเมริกา
และเอเชีย รวม 19 ประเทศ 80,000 คน พบว่า มีผู้บริโภคใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังมากกว่าเดิมถึง 20% จึงไม่แปลกใจเลยที่แบรนด์เครื่องนุ่งห่มเริ่มปรับกระบวนการผลิตและพัฒนาสินค้าให้เอื้อต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพราะจริงๆ แล้วต้นน้ำของการใช้งานเสื้อผ้าอย่าง Slow Fashion ต้องอาศัยตั้งแต่กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
เมื่อมีเสื้อผ้าคุณภาพดีอยู่ในมือแล้ว เทรนด์ Slow Fashion ยังสนับสนุนให้ผู้คนพยายามรักษาและใช้งานสิ่งเหล่านั้นให้คุ้มค่าที่สุด ยูนิโคล่เองก็มีบริการที่สามารถรองรับความต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการรักษ์โลกนี้ได้ ผ่าน Re.UNIQLO Studio บริการซ่อมแซมเสื้อผ้า ที่จะต่ออายุการใช้งานเสื้อผ้าให้นานขึ้น โดยการซ่อมแซมหรือตกแต่งเสื้อผ้าตัวเก่าให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังสามารถรักษาคุณภาพของเสื้อผ้าให้อยู่กับเราได้นานกว่าเดิมผ่านการดูแลเสื้อผ้า โดยปฏิบัติตาม Core Label ที่แบรนด์แนะนำ